‘อุบัติเหตุ’ เป็นสิ่งที่เกิดได้เสมอแม้คุณพ่อ – คุณแม่ จะมีความความระมัดระวังตัวมากแค่ไหนก็ตาม โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ ซึ่งยังไม่ประสีประสา ผู้ปกครองควรให้ความดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจากวัยนี้ พวกเขายังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย คุณพ่อ – คุณแม่ จึงต้องทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยให้ดีที่สุด และถ้าอุบัติเหตุเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ควรตั้งสติพร้อมหาทางแก้ไขอย่างรวดเร็ว
จมน้ำ
เป็นอีกหนึ่งอุบัติเหตุซึ่งสามารถพบได้บ่อยในเด็กทารก การจมน้ำของเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทของผู้อาบน้ำ เช่น เผลอทิ้งเด็กทารกไว้ในกะละมังอาบน้ำ แล้วไปทำอย่างอื่นเพียงแว่บเดียว โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกที่เด็กเริ่มนั่งเองได้แล้ว แต่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ถ้าเด็กจมน้ำนานเกิน 4 นาที โอกาสเสียชีวิตสูงมาก ถึงแม้จะช่วยขึ้นมาได้ภายในเวลา 2-3 นาทีแล้วก็ตาม ถึงเมื่อช่วยขึ้นมาแล้วและลูกมีสติ ก็ต้องให้รีบพาไปโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจพร้อมสังเกตอาการอีก 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอาการปอดบวม
พลัดตกจากที่สูง
มักเกิดจากการตกบันไดและที่สูง ทำให้เกิดการบาดเจ็บตามร่างกายในบริเวณต่างๆ ทั้งนี้อยู่กับความสูงและท่าทางในการล้ม รวมทั้งความแข็งแกร่งของร่างกาย แต่ส่วนมักพบอาการบาดเจ็บมากที่สุด ก็คือ แขน , เข่า , ศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณศีรษะซึ่งเป็นส่วนอันตราย ถ้าได้รับการกระทบกระเทือนมากอาจเกิดอาการเลือดคลั่งในสมอง หรือส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ โดยคุณพ่อ – คุณแม่ ต้องตรวจดูว่าบริเวณนั้นใกล้บันไดหรือเป็นที่สูงไหม ถ้าลูกอยู่บนที่สูงควรตรวจตราราวกั้นว่ามีความแข็งแรง ทนทาน หรือไม่นำลูกน้อยไว้บนที่สูงเลยจะดีที่สุด
สิ่งของติดคอ
การให้ลูกทานอาหารขนาดเล็กอาจส่งผลร้ายจากอาหารติดคอ หรือของเล่นเด็กขนาดเล็กเผลอหลุดลงคอของเด็ก อันทำให้เกิดปัญหาการติดคอเช่นเดียวกัน เมื่อคุณตรวจดูในปากลูก แล้วเห็นว่ามีอะไรอยู่ในปากให้ล้วงเอาออก แต่ถ้ามองไม่เห็นไม่ควรล้วงมือเข้าไปเด็ดขาด เพราะอาจเป็นการดันให้มันลงลึกลงไปอีก ให้จับเด็กคว่ำนำใบหน้าพาดไว้ตรงท่อนแขนหรือเข่า ใช้มือประคองคอของเด็กให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าลำตัว พร้อมใช้ฝ่ามืออีกข้างทุบบริเวณกลางหลังช่วงสะบัก เร็วๆแรงๆ 5 ครั้งติดต่อกัน ทั้งนี้ แรงมากแรงน้อย ก็ขึ้นอยู่กับอายุรวมทั้งขนาดตัวของลูกด้วย ทำซ้ำ 3 ครั้ง ถ้าของติดคอยังไม่ออก ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที